หนึ่งในปัญหาใหญ่ที่สุด ที่เกิดขึ้นในโรงงานอุตสาหกรรม คือ ปัญหาเรื่องเสียงดังรบกวน ซึ่งปัญหานี้ไม่เพียงแต่สร้างความรำคาญ หรือส่งกระทบต่อสุขภาพและประสิทธิภาพในการทำงานเพียงเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อชุมชนที่อยู่ใกล้เคียง อาจทำให้เกิดการฟ้องร้องกันทางกฎหมาย และอาจร้ายแรงถึงขั้นโรงงานถูกสั่งปิดปรับปรุงชั่วคราวจากเจ้าพนักงานเพื่อให้ดำเนินการแก้ไขเรื่องเสียงได้
การแก้ไขปัญหาเสียงดังของโรงงาน โดยเฉพาะกรณีที่กระทบกับชุมชนนอกโรงงาน จึงเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาโดยเร่งด่วน เพราะถ้าไม่สามารถควบคุมระดับเสียงให้อยู่ในเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด ภายในระยะเวลาอันสมควร อาจทำให้เหตุการณ์บานปลายขึ้น แม้ว่าการแก้ปัญหาเสียงดังรบกวนที่เกิดจากกิจกรรมของโรงงานทำได้ยากหรือไม่สามารถทำได้ทันที เนื่องจากต้องใช้งบประมาณค่อนข้างมาก และยังต้องคำนึงถึงผลลัพธ์ที่ออกมาด้วยว่าเป็นไปตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ จึงขอแนะนำ 3 ปัจจัยหลักในการแก้ปัญหาเสียงดังในโรงงาน ที่ต้องทำความเข้าใจก่อนการตัดสินใจแก้ไข มีดังต่อไปนี้
1. ต้องมีการวัดเสียงและตรวจสอบปัญหาหน้างาน
การที่จะแก้ไขปัญหาเสียงดังรบกวนให้ได้ผล และมีระดับเสียงภายหลังการแก้ไขเป็นไปตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดนั้น จะต้องทราบค่าระดับเสียงที่หน้างานหรือค่าระดับเสียงที่แหล่งกำเนิดว่ามีค่าเท่าไหร่ ซึ่งในกฎหมายกำหนดไว้ว่า ในพื้นที่ปฏิบัติงานระดับเสียงเฉลี่ยตลอดเวลาการทำงานต้องไม่เกิน 85 เดซิเบลเอ และระดับเสียงสูงสุดในพื้นที่ปฏิบัติงานในโรงงานไม่เกิน 115 เดซิเบล
2. วัสดุควบคุมเสียงที่จะนำมาใช้ต้องมีคุณภาพ
ก่อนที่จะเลือกใช้วัสดุควบคุมเสียงในการแก้ปัญหาเสียงดัง เราต้องมีความรู้พื้นฐานและความเข้าใจก่อนจะตัดสินใจเลือก โดย “วัสดุควบคุมเสียง” เป็นวัสดุที่มีคุณสมบัติช่วยในการลดเสียง เช่น ลดเสียงก้อง เสียงสะท้อน เสียงทะลุผ่านออกจากห้อง เป็นต้น โดยวัสดุควบคุมเสียงแบ่งออกได้ 3 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่
2.1 Absorptive Materials: มีคุณสมบัติช่วยในการดูดซับเสียงภายในห้อง ลดปัญหาการสะท้อนของเสียง
2.2. Insulation Materials: มีคุณสมบัติในการป้องกันเสียงรบกวน ซึ่งค่าการป้องกันเสียงรบกวนจะขึ้นอยู่กับความหนาแน่นและขนาดของวัสดุ
2.3 Diffusers Materials: มีคุณสมบัติในการกระจายเสียง ลดพลังงานเสียง และช่วยเพิ่มทิศทางของเสียงให้กระจายทั่วพื้นที่
ทั้งนี้ การจะเลือกใช้วัสดุควบคุมเสียงให้ได้ผลลัพธ์ดีที่สุด ต้องสอดคล้องกับเสียงที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้นๆ หรือเสียงที่เกิดในพื้นที่ปฏิบัติงานโรงงาน นอกจากนี้ การที่เราจะควบคุมเสียงให้ได้ผลดีที่สุด ต้องคำนึงถึงตำแหน่งการติดตั้งวัสดุ ขนาดของวัสดุ และความหนาแน่นของวัสดุแต่ละประเภทด้วย ซึ่งวัสดุแต่ละประเภทมีผลต่อการแก้ปัญหาเสียงดัง ดังนั้นในการเลือกใช้วัสดุควบคุมเสียงให้มีประสิทธิภาพจะต้องพิจารณาผลการทดสอบหรือรายงานคุณสมบัติทางเสียงของวัสดุควบคู่กันไปด้วย
3. มีการวางแผนก่อนการแก้ปัญหาโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
การแก้ปัญหาเสียงดัง ไม่ใช่เรื่องที่ทุกคนจะกระทำได้เลย และไม่ใช่ว่าแก้ไขไปแล้วจะได้ผลตามที่เราคาดหวัง เพราะต้องมีการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของการเกิดเสียง มีการออกแบบและคำนวณค่าการลดเสียงตามหลักการทางวิศวกรรม โดยจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในการแก้ปัญหาเรื่องเสียงโดยเฉพาะ ที่มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาเสียงมายาวนาน เพื่อให้การลงทุนแก้ปัญหาเสียงดังได้ผลลัพธ์ดีที่สุด และระดับเสียงลดลงตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
สามประเด็นที่กล่าวมาข้างต้น ถือเป็นปัจจัยหลักในการแก้ปัญหาเสียงดังในโรงงาน ที่ผู้ประกอบการโรงงานต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก เพื่อให้การแก้ปัญหาเสียงมีประสิทธิภาพ และไม่ทำให้ต้องสูญเสียงบประมาณไปโดยเปล่าประโยชน์ โดยหากท่านกำลังประสบกับปัญหาเสียงดังรบกวนในสถานประกอบการโรงงานของท่าน เช่น โรงงานมีระดับเสียงเกิน 85 เดซิเบลเอ เสียงดังรบกวนชุมชน หรือโดนชุมชนร้องเรียนทางกฎหมาย
ฉนวนกันเสียง 3 ปัจจัยหลัก ในการแก้ปัญหาเสียงดังในโรงงาน ที่คุณควรรู้ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/