ผู้เขียน หัวข้อ: รถแลกเงิน: คิดจะขอสินเชื่อรถแลกเงินทั้งที เลือกให้ดีก่อนตัดสินใจ ผ่อนแบบไหนที่ใช  (อ่าน 98 ครั้ง)

siritidaphon

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 240
    • ดูรายละเอียด
รถแลกเงิน: คิดจะขอสินเชื่อรถแลกเงินทั้งที เลือกให้ดีก่อนตัดสินใจ ผ่อนแบบไหนที่ใช่คุณ

การขอสินเชื่อรถแลกเงิน นอกจากจะดูเรื่องของเอกสารแสดงรายได้ หลักประกันต่างๆ แล้ว ระยะเวลาการผ่อนชำระก็เป็นเรื่องสำคัญค่ะ ซึ่งผู้ขอสินเชื่อสามารถเลือกระยะเวลาการผ่อนชำระได้ โดยอาจจะพิจารณาความสามารถในการผ่อนชำระของตนเองประกอบด้วย ดังนี้

ผ่อนสั้น หรือการผ่อนระยะสั้น

การผ่อนระยะสั้น เช่น 24 เดือน หรือ 36 เดือน เป็นการผ่อนด้วยจำนวนเงินที่มากขึ้น ยอดผ่อนต่อเดือนสูง แต่ในทางกลับกันดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายก็จะน้อยลง และช่วยให้สามารถจ่ายหนี้ได้หมดเร็วขึ้น ซึ่งการผ่อนสั้น เน้นจ่ายเยอะ ปิดหนี้เร็ว เหมาะกับผู้ที่มีเงินเดือน หรือมีรายได้ประจำที่สามารถวางแผน บริหารจัดการเงินของตนเองให้เพียงพอกับรายรับ และรายจ่ายได้ทุกเดือน

ผ่อนยาว หรือการผ่อนระยะยาว

การผ่อนระยะยาว เช่น 60 หรือ 84 เดือน ทำให้ยอดเงินที่ต้องจ่ายต่อเดือนลดต่ำลง แต่ก็จะต้องแลกกับการที่ต้องเสียดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น รวมถึงระยะเวลาในการปิดหนี้ก็จะยาวนานขึ้นด้วยค่ะ ซึ่งการผ่อนระยะยาว จะเน้นค่อยๆ จ่าย ปิดช้า แต่ปิดได้ชัวร์ เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ไม่ค่อยคงที่ เช่น กลุ่มฟรีแลนซ์ หรือพ่อค้า แม่ค้า ที่อาจจะต้องมีเทคนิคในการจัดสรรเงินรายรับ รายจ่ายในแต่ละเดือนให้ครอบคลุม

เปรียบเทียบตารางผ่อนสินเชื่อรถแลกเงิน ผ่อนสั้น VS ผ่อนยาว

โดยปกติการคำนวณค่างวดหรือยอดผ่อนต่อเดือนกรณีขอสินเชื่อรถแลกเงิน จะคิดจากวงเงินกู้รวมดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งหมด และระยะเวลาผ่อนชำระ ซึ่งในส่วนของดอกเบี้ยจะมีทั้งการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ (Flat Rate) และการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก (Effective Rate) ในตัวอย่างการคำนวณจะใช้อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ เพื่อเปรียบเทียบยอดผ่อนต่อเดือนของการผ่อนระยะสั้น 48 งวด และการผ่อนระยะยาว 84 งวด ดังนี้

ตัวอย่าง : วงเงินกู้ 200,000 บาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ 0.59% ต่อเดือน
ระยะเวลาผ่อนชำระ 48 งวด   ระยะเวลาผ่อนชำระ 84 งวด
คำนวณดอกเบี้ย = วงเงินกู้ x อัตราดอกเบี้ยคงที่ต่อเดือน x จำนวนงวด
200,000 x 0.59% x 48 = 56,640 บาท   200,000 x 0.59% x 84 = 99,120 บาท

รวมยอดเงินวงเงินกู้
200,000 + 56,640 = 256,640 บาท   200,000 + 99,120 = 299,120 บาท
เฉลี่ยยอดผ่อนต่อเดือน (ค่างวด)
256,640 / 48 = 5,347 บาท   299,120 / 84 = 3,561 บาท

จากตารางคำนวณข้างต้น เห็นได้ชัดเจนว่า
การผ่อนระยะสั้น 48 งวด เสียดอกเบี้ยน้อยกว่าการผ่อนระยะยาว แต่ยอดผ่อนต่อเดือนสูงกว่า (5,347 - 3,561) = 1,786 บาท
การผ่อนระยะยาว 84 งวด เสียดอกเบี้ยมากกว่าการผ่อนระยะสั้นถึง (99,120 - 56,640) = 42,480 บาท แต่ยอดผ่อนต่อเดือนน้อยกว่า
ทั้งนี้ หากผู้ขอสินเชื่อต้องการเสียดอกเบี้ยน้อย และสามารถบริหารเงินเพื่อจ่ายรายเดือนได้ การเลือกผ่อนระยะสั้นก็น่าจะตอบโจทย์มากกว่าค่ะ ส่วนใครที่ต้องการผ่อนสบายๆ การเลือกผ่อนระยะยาวก็ถือเป็นทางเลือกที่ดีนะคะ ถึงจะเสียดอกเบี้ยเยอะหน่อย แต่ผ่อนสบายกว่า อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเลือกผ่อนระยะสั้น หรือผ่อนระยะยาว ก็ควรชำระหนี้ให้ครบ และตรงตามกำหนด จะได้ไม่เกิดปัญหาหนี้พอกหางหมูตามมานะคะ