การบำรุงรักษาระบบเติมอากาศ
- หมั่นตรวจสอบโครงสร้างของระบบเติมอากาศหรือแอเรเตอร์ ให้อยู่ในสภาพใช้
งานได้เสมอ หากเห็นว่าชำรุดให้ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่
- ในกรณีเป็นขั้นถาดใส่ถ่าน หมั่นตรวจสอบถ่าน และกรวดในชั้นถาดไม่ให้มี
เหล็กเกาะมาก และถ้าไม่มีถ่านหรือถ่านมีเหล็กเกาะมาก ให้จัดหามาใส่หรือ
เปลี่ยนใหม่ หมั่นคุ้ยถ่านเสมอ เพื่อให้มีอายุการใช้งานที่นานหมั่นสังเกตปรับ ประตูน้ำส่งน้ำดิบ ไม่ให้น้ำดิบตกนอกชั้นถาด
การบำรุงรักษาถังกรอง
- อย่าปล่อยให้น้ำหน้าทรายกรองแล้ง
- ดูแลรักษาอุปกรณ์อื่นๆ เช่น พวงมาลัย เปิด – ปิด ประตูน้ำให้อยู่ในสภาพดี ถ้ามีการรั่วซึมชำรุดให้ซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่
- ขัดล้างทำความสะอาดถังกรองทุก 3 – 6 เดือน
- ทำความสะอาดทรายกรองเมื่อถึงเวลาที่กำหนดไว้
การบำรุงรักษาถังน้ำใส
- ต้องดูแลรักษาปิดฝาให้มิดชิดไม่ให้มีสิ่งของตกลงไปได้
- ตัดหญ้าทำความสะอาดโดยรอบถังน้ำใส
- ตรวจสอบป้ายบอกระดับน้ำให้อยู่ในสภาพดี เพื่อใช้ในการตรวจสอบปริมาตร น้ำในถัง และใช้ดูว่ามีการรั่วหรือแตกร้าวหรือไม่
- ตรวจสอบอุปกรณ์ประตูน้ำให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน หากชำรุดรั่วซึมต้องซ่อมแซมหรือเปลี่ยนใหม่
- ขัดล้างทำความสะอาดถังทุก 1 ปี
การบำรุงรักษาเครื่องจ่ายสารเคมี
การตรวจสอบประจำวัน เพื่อดูว่าเครื่องจ่ายทำงานปกติหรือไม่
- ตรวจดูแรงดันและอัตราจ่ายว่าอยู่ในจุดที่ตั้งไว้หรือไม่
- ตรวจดูการรั่วซึมของระบบท่อและอุปกรณ์
- ตรวจดูชุดขับ (Drive Unit) ของเครื่องจ่ายว่าน้ำมันพร่องหรือมีการรั่วซึมหรือไม่
- ตรวจดูการกินกระแสของมอเตอร์
- ตรวจดูเครื่องจ่ายสำรอง (ถ้ามี) ว่าอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานหรือไม่
•การตรวจสอบเป็นระยะ
- ชุดวาล์ว ควรตรวจทุก 6 เดือน ถ้ามีการสึกหรอควรเปลี่ยนใหม่
- แผ่นไดอะเฟรม ควรตรวจทุก 1 – 2 เดือน ว่ามีการรั่วหรือยืดหยุ่นไม่สมบูรณ์หรือไม่ ทั้งอยู่การใช้งานขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น แรงดัน, อุณหภูมิ , ประเภทของสารเคมี
- ควรเปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นที่ชุดขับทุกปี แต่น้ำมันเกิดการแยกตัวให้เปลี่ยนทันที การเปลี่ยนให้คลาย Drain Plug ที่ชุดขับออก เมื่อน้ำมันเก่าไหลออกจากชุดขับหมดก็ขัน Drain Plug ให้แน่นและเติมน้ำมันใหม่เข้าไปให้ถึงระดับอ้างอิง สำหรับน้ำมันที่ใช้ให้เป็นไปตามคำแนะนำของผู้ผลิต
บริหารจัดการอาคาร: การบำรุงรักษาระบบผลิตน้ำประปา อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/